หลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรที่เปิดสอน

 โครงสร้างเวลาเรียน

 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียน ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับประถมศึกษา

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น


ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

ม. ๑

ม. ๒

ม. ๓


 กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

     ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๒๐

(๓ นก.)

๑๒๐

(๓ นก.)

๑๒๐

(๓ นก.)


     คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๒๐

(๓ นก.)

๑๒๐

(๓ นก.)

๑๒๐

(๓ นก.)



     วิทยาศาสตร์

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒๐

(๓ นก.)

๑๒๐

(๓ นก.)

๑๒๐

(๓ นก.)


    สังคมศึกษา ศาสนา

    และวัฒนธรรม

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒๐

(๓ นก.)

๑๒๐

(๓ นก.)

๑๒๐

(๓ นก.)


    สุขศึกษาและพลศึกษา

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

(๒นก.)

๘๐

(๒ นก.)

๘๐

(๒ นก.)



    ศิลปะ

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

(๒นก.)

๘๐

(๒ นก.)

๘๐

(๒ นก.)


    การงานอาชีพและ

     เทคโนโลยี

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

(๒นก.)

๘๐

(๒ นก.)

๘๐

(๒ นก.)


    ภาษาต่างประเทศ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒๐

(๓ นก.)

๑๒๐

(๓ นก.)

๑๒๐

(๓ นก.)


รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

๘๐๐

๘๐๐

๘๐๐

๘๐๐

๘๐๐

๘๐๐

๘๔๐

(๒๑ นก.)

๘๔๐

(๒๑ นก.)

๘๔๐

(๒๑ นก.)



 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐


รายวิชา /กิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติม          ตามความพร้อมและจุดเน้น 

 

ปีละไม่เกิน ๘๐ ชั่วโมง

ปีละไม่เกิน ๒๔๐ ชั่วโมง


รวมเวลาเรียนทั้งหมด

ไม่เกิน  ๑,๐๐๐ ชั่วโมง/ปี

ไม่เกิน ๑,๒๐๐ ชั่วโมง/ปี


 การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และเพิ่มเติม สถานศึกษาสามารถดำเนินการ ดังนี้

ระดับประถมศึกษา  สามารถปรับเวลาเรียนพื้นฐานของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้ตามความเหมาะสม  ทั้งนี้ ต้องมีเวลาเรียนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และผู้เรียนต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด  

ระดับมัธยมศึกษา  ต้องจัดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานให้เป็นไปตามที่กำหนดและสอดคล้องกับเกณฑ์การจบหลักสูตร

สำหรับเวลาเรียนเพิ่มเติม ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร  เฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ สถานศึกษาอาจจัดให้เป็นเวลาสำหรับสาระ   การเรียนรู้พื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีละ ๑๒๐ ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ จำนวน ๓๖๐ ชั่วโมงนั้น   เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนวกิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้

                 ระดับประถมศึกษา (ป.๑-๖)                     รวม  ๖  ปี      จำนวน  ๖๐  ชั่วโมง

                 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓)         รวม  ๓  ปี     จำนวน  ๔๕  ชั่วโมง

                 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-๖)      รวม  ๓  ปี     จำนวน  ๖๐  ชั่วโมง

การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

                การจัดการศึกษาบางประเภทสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น การศึกษาเฉพาะทาง การศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ การศึกษาทางเลือก การศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส การศึกษาตามอัธยาศัย   สามารถนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม กับสภาพและบริบทของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

 

การจัดการเรียนรู้

                การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชน

                ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามเป้าหมายหลักสูตร  ผู้สอนพยายามคัดสรร                     กระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้โดยช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้  รวมทั้งปลูกฝังเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาทักษะต่างๆ อันเป็นสมรรถนะสำคัญให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย

๑. หลักการจัดการเรียนรู้

                     การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน   โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  ยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง             เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ และคุณธรรม

๒. กระบวนการเรียนรู้

                      การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย  เป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร  กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้   กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้                      จากประสบการณ์จริง กระบวนกา